หน้าแรก   ร้องเรียน/ร้องทุกข์   รับแจ้งทุจริต   ติดต่อ เทศบาล   แผนที่ เทศบาล


 

 

                                                                

 

ประวัติ

        เทศบาลตำบลเมืองคง ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลเมืองคง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542

          วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลเมืองคงได้กำหนดวิสัยทัศน์ การพัฒนาท้องถิ่นไว้ดังนี้

         “ยึดหลักธรรมาภิบาล มุ่งเน้นบริการประชาชน มุ่งมั่นพัฒนาเมือง รุ่งเรืองวัฒนธรรม ช่วยคิดช่วยทำบ้านเมืองน่าอยู่ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ”

ที่ตั้งและอาณาเขต

          เทศบาลตำบลเมืองคงตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดนครราชสีมา ระยะห่างจากตัวจังหวัด โดยทางรถยนต์ 79 กิโลเมตร และทางรถไฟ 69 กิโลเมตร เทศบาลตำบลเมืองคงเป็นพื้นที่ราบตั้งอยู่ตอนกลางของอำเภอคง มีขนาดพื้นที่ 1.155 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเมืองคง และเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอคง มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลบางส่วน 5 หมู่บ้าน ได้แก่

  • บ้านห้วยน้อย หมู่ที่ 1
  • บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3
  • บ้านตะคร้อ หมู่ที่ 7
  • บ้านกุดรัง หมู่ที่ 8
  • บ้านคงสามัคคี หมู่ที่ 11

 รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 1.155 ตารางกิโลเมตร

  • ด้านทิศเหนือ เริ่มจากหลักเขตที่ 1 ซึ่งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟ สายนครราชสีมา -หนองคาย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 500 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟเป็นระยะทาง 700 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 2
  • ด้านทิศตะวันออก เริ่มจากหลักเขตที่ 2 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นแนวขนานกับทางรถไฟ เป็นระยะทาง 1,650 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 3
  • ด้านทิศใต้ เริ่มจากหลักเขตที่ 3 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟ เป็นระยะทาง 700 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 4
  • ด้านทิศตะวันตก เริ่มจากหลักเขตที่ 4 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับทางรถไฟ เป็นระยะทาง 1,650 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 1

ลักษณะภูมิประเทศ

        มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนตื้น มีความลาดเทจากทางทิศตะวันออก เป็นที่ดอนสลับที่นา ที่ราบลุ่มบริเวณลำสะแทด ด้านทิศตะวันตกของอำเภอ พื้นที่โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 200 เมตร

         ประชากร

         มีประชากรในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,313 คน แยกเป็นชาย 1,114 คน หญิง 1,199 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 2,002.60 คนต่อตารางกิโลเมตร